นักโต้วาที บุคคลิกภาพ

ENTP-A / ENTP-T

“นักโต้วาที” บุคคลิกภาพ

จงเดินตามทางที่ไม่ปลอดภัย นักคิดอิสระ เผยแพร่ความคิดให้กระตุ้นข้อโต้แย้ง พูดอย่างใจคิดและไม่ต้องกลัวว่าจะรู้สึกไม่สบายใจ หากเรื่องนั้นสำคัญกับคุณ จงยืนหยัดอย่างไม่ลดละ

Thomas J. Watson

บุคลิกภาพแบบนักโต้วาทีนั้นเป็นนักโต้แย้งสูงสุด มีความอุสาหะที่จะขยี้ข้อโต้แย้ง ความเชื่อ ให้แตกออกเป็นส่วน ๆ และปล่อยให้ทุกคนได้เห็นเศษซากที่หลงเหลืออยู่ แตกต่างกับความอุตสาหะในบุคลิกภาพแบบอื่น ๆ นักโต้วาทีทำเช่นนี้ไม่ใช่เพื่อบรรลุเป้าหมายใดในใจหรือบรรลุเป้าหมายกลยุทธ์ใด ๆ พวกเขาทำเพราะสนุกเท่านั้นเอง ไม่มีใครชื่นชอบการต่อสู้ทางความคิดไปมากกว่านักโต้วาที เพราะพวกเขาเห็นว่านี่คือโอกาสที่จะได้ฝึกเชาว์ปัญญา สั่งสมความรู้ และเพิ่มพูนความสามารถในการเก็บข้อมูลต่าง ๆ มาปะติดปะต่อกันให้เป็นหลักฐานทางความคิดได้

การเล่นเป็นบทผู้ร้ายช่วยให้คนที่มีบุคลิกภาพแบบนักโต้วาทีเพิ่มพูนประสบการณ์ด้านการให้เหตุผล และยังเข้าใจความคิดอีกด้านหนึ่งได้ดีขึ้น เพราะได้เข้าไปโต้แย้งมาแล้ว

กลยุทธ์นี้ไม่ควรนำไปสับสนกับการเข้าอกเข้าใจของบุคลิกภาพในแบบอื่น ๆ อย่างในบทบาทของนักการฑูต นักโต้วาทีนั้นมุ่งหาความรู้อย่างไม่เหน็ดเหนื่อย และวิธีใดจะดีไปกว่าการโจมตีและปกป้องแนวความคิดจากทุกมุมมองเท่าที่จะคิดได้เล่า?

“นักโต้วาที” บุคคลิกภาพ (ENTP-A / ENTP-T)

ที่นี่ไม่มีกฎเกณฑ์ - เรากำลังพยายามทำอะไรสักอย่างให้สำเร็จ!

แม้ว่าจะชอบเป็นม้านอกสายตา นักโต้วาทีชื่นชอบที่จะได้ฝึกสมองไปกับการตั้งคำถาม ซึ่งทำให้ไม่มีอะไรมาแทนที่พวกเขาได้ในการพัฒนาระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน ตั้งข้อสงสัยกับเรื่องต่าง ๆ และนำพาไปสู่ทิศทางใหม่ที่ดีกว่าเดิม อย่างไรก็ตาม พวกเขาจะทรมานหากต้องทำงานแบบเครื่องจักรทุกวันเพื่อทำตามสิ่งที่พวกเขาเป็นคนเสนอแนะเอง บุคลิกภาพแบบนักโต้วาทีชอบการระดมสมองและคิดการใหญ่ แต่พวกเขาจะหลีกเลี่ยง “งานน่าเบื่อ” ไม่ว่าะต้องทำอย่างไรก็ตาม นักโต้วาทีนั้นมีอยู่ประมาณ 3% ของประชากรทั้งหมด ซึ่งปริมาณก็พอดี ๆ พวกเขาสร้างความคิดแบบของตัวเอง และก้าวออกมาเพื่อปล่อยให้คนจากบุคลิกภาพในแบบอื่น ๆ ลงมือทำงานและการดูแลรักษากระบวนการทำงานที่จะเกิดขึ้นตามมา

ความสามารถของนักโต้วาทีในการโต้แย้งนั้นอาจก่อกวนใจได้ แม้ว่าจะมีคุณค่าเมื่อยามจำเป็น แต่ก็เป็นเรื่องแย่เมื่อพวกเขาไปกวนใจผู้อื่น เช่น ตั้งข้อสงสัยกับหัวหน้าของตัวเองกลางที่ประชุม หรือ พูดขัดทุกเรื่องที่คู่ของตัวเองพูดขึ้นมา ประเด็นนี้จะยิ่งซับซ้อนมากขึ้นด้วยความ “ตรงไปตรงมา” ของนักโต้วาที เพราะบุคลิกภาพประเภทนี้ไม่พูดอ้อมค้อมและไม่ได้สนใจว่าใครจะมองว่าไม่อ่อนไหวหรือเห็นอกเห็นใจผู้อื่น คนที่บุคลิกภาพคล้ายกันจะเข้ากันได้ดีกับนักโต้วาที แต่คนที่อ่อนไหว หรือสังคมทั่วไป มักจะคิดต่าง แคร์ความรู้สึกและความสบายใจมากกว่า จนยอมที่จะโกหกเพื่อให้สบายใจมากกว่าบอกความจริงที่อาจทำให้รู้สึกแย่หรือความเป็นเหตุเป็นผลที่โหดร้ายเกินไป

สิ่งนี้ทำให้นักโต้วาทีหงุดหงิด เพราะการโต้แย้งเพื่อความสนุกสนานกลายเป็นการทำลายความสัมพันธ์ บ่อยครั้งเกิดจากการไม่ได้ตั้งใจ พวกเขาทำร้ายความรู้สึกของผู้อื่นด้วยการตั้งข้อสงสัยกับสิ่งที่คนอื่นเชื่อถือและไม่สนใจความรู้สึกของคนอื่น ปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างไรได้อย่างนั้น นักโต้วาทีมีความอดทนต่อการพะเน้าพะนอต่ำมาก และไม่ชอบเวลาคนพูดอ้อมค้อม โดยเฉพาะเมื่อมาขอความช่วยเหลือ บุคลิกภาพแบบนักโต้วาทีมักนับถือวิสัยทัศน์ ความมั่นใจ ความรู้ และอารมณ์ขันของตนเอง แต่มักพบว่าการนำคุณลักษณะเหล่านี้ออกมาใช้กับความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งหรือความสัมพันธ์โรแมนติกนั้นเป็นเรื่องยาก

โอกาสดี ๆ หลุดลอยไปเพียงเพราะถูกมองว่าเป็นงานหนัก

นักโต้วาทีนั้นมีเส้นทางที่ยาวไกลกว่าคนอื่น ๆ ในการนำคุณลักษณะของตนเองออกมาใช้งาน ความฉลาดเฉลียวที่ไม่พึ่งพาใครและวิสัยทัศน์ที่ไม่มีแบบแผนของพวกเขานั้นมีค่าเป็นอย่างยิ่งเมื่ออยู่ในตำแหน่งที่ควบคุมสิ่งต่าง ๆ ได้ หรืออย่างน้อยอยู่ข้างคนที่คอยควบคุม แต่การจะไปอยู่ที่จุดนั้นได้ต้องใช้ความพยายามทำอย่างต่อเนื่องซึ่งเป็นสิ่งที่นักโต้วาทีประสบปัญหามากที่สุด

เมื่อพวกเขาขึ้นไปอยู่ที่ตำแหน่งนั้นได้ นักโต้วาทีต้องจำไว้ว่าการที่ความคิดของพวกเขาจะเกิดประโยชน์ได้ พวกเขาต้องการผู้อื่นมาช่วยทำให้มันเกิดผล หากพวกเขาใช้เวลาหมดไปกับการโต้แย้งให้ “ชนะ” แทนที่เพื่อให้ได้เสียงส่วนใหญ่ นักโต้วาทีส่วนใหญ่จะพบว่าพวกเขาไม่ได้รับการสนับสนุนที่เพียงพอให้ประสบความสำเร็จ จากการที่เล่นบทร้ายดีเกินไป คนที่มีบุคลิกภาพนี้อาจพบว่าความท้าทายทางปัญญาที่ซับซ้อนและให้ผลตอบแทนดีที่สุดนั้นคือการทำความเข้าใจมุมมองอารมณ์ที่อ่อนไหวกว่า และการโต้แย้งอย่างมีเมตตา และประนีประนอมไปพร้อมกับใช้ตรรกะและความก้าวหน้า

นักโต้วาทีที่คุณอาจรู้จัก